top of page
Search

สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking for Educators

ท่านเคยสงสัยไหมว่าทำไมบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Google, Facebook, Line และอื่นๆ สามารถสร้างนวัตกรรมระดับโลกได้อย่างไร บริษัทเหล่านั้นมีกระบวนการคิดอย่างไรเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อช่วยแก้ปัญหาของคนทั่วโลก และสร้างมูลค่าทางธุรกิจอย่างมหาศาล


หลายๆท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ Design Thinking มาบ้างแล้ว แต่ยังคงมีความสงสัยว่ามันคืออะไร มีกระบวนการอย่างไร แล้ว Design Thinking นี้จะเอามาบูรณาการกับการศึกษาหรือการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างไรได้บ้าง ทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้ มาอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ


Design Thinking for Educator คืออะไร

Design Thinking คือกระบวนการที่ช่วยให้คุณครูสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจความต้องการของนักเรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง และพัฒนาไอเดียเพื่อแก้ปัญหาตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการทดสอบ วิเคราะห์ แนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์นั้นๆ


Source: uxdesign.cc

กระบวนการ Design Thinking มีอะไรบ้าง

กระบวนการ Design Thinking มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้


1. การสำรวจ (Discovery/Empathize): การทำความเข้าใจปัญหา เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และเข้าใจความคิดและการกระทำของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม สัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรม เช่นกลุ่มเป้าหมายของคุณครูคือ นักเรียน เป็นต้น


2. การตีความ (Interpretation/Define): ระบุปัญหาที่แท้จริงที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน


3. การระดมสมอง (Ideation): ระดมสมองเพื่อหาไอเดียให้ได้มากที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อการแก้ปัญหา สามารถคิดนอกกรอบหรือค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นค่อยคิดวิเคราะห์คัดเลือกไอเดียที่ดีจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปพัฒนาแบบจำลองต่อไป


4. สร้างต้นแบบหรือแบบจำลอง (Phototype/Experimentation): เปลี่ยนไอเดียดีๆให้เป็นรูปเป็นร่างโดยการสร้างต้นแบบเพื่อใช้ทดลองในการแก้ปัญหาและเพื่อทดสอบแนวคิด โดยสามารถสร้างต้นแบบง่ายๆ รวดเร็วและไม่แพง โดยการ วาดรูป, ทำ Story board , ทำ Mock up ต้นแบบ, Role Play บทบามสมมุติ เป็นต้น


5. ทดสอบและพัฒนา (Test): ทดสอบต้นแบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย (Test) แล้วเก็บข้อมูลที่ได้มา เรียนรู้ หาข้อสรุป รับข้อเสนอแนะและข้อติชม เพื่อปรับปรุง ซึ่งวนไปที่ขั้นตอนแรก จนกว่าจะได้นวัตกรรมที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง


Source: Focus2Achieve

สำหรับการศึกษา กระบวนการนี้จะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนา การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skills) ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีในการฝึกฝนเพื่อสร้างทักษะเหล่านี้ขึ้นมา คุณครูสามารถนำกระบวนการ Design Thinking นี้ไปใช้ในห้องเรียนได้ไม่ว่าจะบูรณาการกับบทเรียนหรือการทำโครงการในทุกกลุ่มวิชาเพื่อช่วยให้นักเรียนสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ซึ่งนักเรียนสามารถเริ่มโดยการเรียนรู้ ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาหลังจากการสืบค้นและวิเคราะห์สิ่งที่นักเรียนได้ค้นคว้ามา ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนเป็นสร้างความพร้อมในการทำงานในอนาคตต่อไป


Resource: https://rework.withgoogle.com/

https://designthinkingforeducators.com/

478 views0 comments
bottom of page